thaiskyhost.com=> ประสบการณ์ฝึกสมาธิ -> ทำความเข้าใจกับ ปีติ ในสมาธิ(ฌาน) และรู้จักมากยิ่งขึ้น โดย อานาปานสติ ๑๖ ขั้น


ทำความเข้าใจกับ ปีติ ในสมาธิ(ฌาน) และรู้จักมากยิ่งขึ้น โดย อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

จำนวนผู้เข้าชม : 5606 คน
ทำความเข้าใจกับ ปีติ ในสมาธิ(ฌาน) และรู้จักมากยิ่งขึ้น โดย อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

หมวดหมู่ : ประสบการณ์ฝึกสมาธิ

ราคา : 0 .-

ผมได้เรียนรู้ในเรื่องของการฝึกสมาธิแบบอาณาปานสติ 16 ขั้นมาครับ คือใช้วิธีรู้ลมหายใจเข้าออกเป็นฐานเหมือนกับอาณาปานสติทั่วๆไปครับ แต่เราจะไม่หวังผลในเรื่องของลำดับขั้นของ ฌาน ใดๆ โดยการฝึกอาณาปนสติ 16 ขั้นจะเน้นให้เรามีสติรู้ เกี่ยวกับอารมณ์ในสมาธิปัจจุบันที่เกิดขึ้นกับทุกลมหายใจ - จนถึงรู้เพื่อวางทุกสิ่งอย่าง - ซึ่งเป็นขั้นท้ายๆทำได้ยากครับ วิธีนี้เป็นเหมือนเป็นการฝึกสมาธิและสติให้เข้มแข็งขึ้นอย่างมาก และเป็นกรรมฐานเดียวที่เวลาก่อนเราจะตาย เราจะรู้ชัดเจนว่าลมหายใจสุดท้ายของเรานั้น จะหายใจเข้าแล้วตาย หรือหายใจออกแล้วตาย (ขนาดตอนจะตายสติยังคมชัดมากๆ เป็นเครื่องยืนยันได้ดีว่าตอนตายจิตเราจะเป็นสมาธิ)
FaceBook Twitter

ทำความเข้าใจกับ ปีติ ในสมาธิ(ฌาน) และรู้จักมากยิ่งขึ้น โดย อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

ทำความเข้าใจกับ ปีติ ในสมาธิ(ฌาน) และรู้จักมากยิ่งขึ้น โดย อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

ทำความเข้าใจกับ ปีติ ในสมาธิ(ฌาน) และรู้จักมากยิ่งขึ้น โดย อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

ทำความเข้าใจกับ ปีติ ในสมาธิ(ฌาน) และรู้จักมากยิ่งขึ้น โดย อานาปานสติ ๑๖ ขั้น






บันทึกวันที่ : 07/02/2561

ก่อนหน้านี้ผมก็ฝึกสมาธิมาอย่างต่อเนื่อง มีทิ้งช่วงไปบ้างในบางโอกาสที่ไม่ว่างฝึก แต่ก็ยังมีความพยายามที่ไม่ลดละในการฝึก เหมือนในใจลึกๆรู้สึกว่าจะต้องฝึกฝนไปจนตลอดชีวิตนี้

ปีติ เป็นภาษาบาลีครับ  เวลาภาษาไทยยืมมาใช้จะเป็นปิติครับ ถ้าแปลง่ายๆ ก็คือ ความดื่มด่ำ

มาเข้าเรื่อง ปีติ กันบ้างดีกว่า หลังที่ฝึกฝนสมาธิมานานแต่ก็ยังไม่เคยเข้าใจถึงอารมณ์ปีติแบบจริงๆจังๆสักที  เพราะอาการปีติในสมาธินั้นมีอยู่หลากหลาย บางทีก็คล้ายกับว่าตัวเราเบาลอย , บางที่ก็รู้สึกเหมือนหน้าเราคว่ำหกคะเมนตีลังกา บางที่ก็เหมือนขนลุกซู่ , บางทีก็เหมือนซู่ซ่าทั่วทั้งกาย  ซึ่งทั้งหมดนี้ผมเคยเจอมาแล้ว และมันก็เกิดขึ้นแป๊บเดียวก็หายไป จนทำให้ผมไม่แน่ใจในเรื่องของปีติ เพราะมันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและหายไปรวดเร็ว หรือผมตามรู้ไม่ทันอารมณ์ปีติกันนะ ??

และวันนี้ผมก็เข้าใจอารมณ์ของปีติแบบที่เข้าใจยิ่งขึ้นครับ ซึ่งเราสามารถตามรับรู้อารมณ์ปีติได้ต่อเนื่อง แล้วมันทำให้เราพัฒนาก้าวไปสู่ ฌาน2 ได้อย่างสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นโดยที่เราไม่มีความลังเลสงสัยเลยว่านั่นเราเข้าฌาน2 แล้ว


มาดูแนวทางสู่การรู้ชัดอารมณ์ปีติในสมาธิ นะครับ

ผมได้เรียนรู้ในเรื่องของการฝึกสมาธิแบบอาณาปานสติ 16 ขั้นมาครับ  คือใช้วิธีรู้ลมหายใจเข้าออกเป็นฐานเหมือนกับอาณาปานสติทั่วๆไปครับ แต่เราจะไม่หวังผลในเรื่องของลำดับขั้นของ ฌาน ใดๆ  โดยการฝึกอาณาปนสติ 16 ขั้นจะเน้นให้เรามีสติรู้ เกี่ยวกับอารมณ์ในสมาธิปัจจุบันที่เกิดขึ้นกับทุกลมหายใจ - จนถึงรู้เพื่อวางทุกสิ่งอย่าง - ซึ่งเป็นขั้นท้ายๆทำได้ยากครับ วิธีนี้เป็นเหมือนเป็นการฝึกสมาธิและสติให้เข้มแข็งขึ้นอย่างมาก และเป็นกรรมฐานเดียวที่เวลาก่อนเราจะตาย เราจะรู้ชัดเจนว่าลมหายใจสุดท้ายของเรานั้น จะหายใจเข้าแล้วตาย หรือหายใจออกแล้วตาย (ขนาดตอนจะตายสติยังคมชัดมากๆ เป็นเครื่องยืนยันได้ดีว่าตอนตายจิตเราจะเป็นสมาธิ)

ผมจะกล่าวแค่ขั้นแรกๆนะครับ เอาแค่ถึงประมาณขั้นรู้ปีติและสุขก็พอครับ

ขั้นที่ 1 : กำหนดรู้ลมหายใจยาว หายใจเข้า , กำหนดรู้ลมหายใจยาว หายใจออก
(ลมหายใจยาว คือ ลมหายใจธรรมดา เหมือนที่เราหายใจปกติตอนลืมตานั่นแหละ ห้ามดัดแปลงโดยลากลมหายใจให้ยาวนะครับ)

=> เมื่อทำไปสักพัก สมาธิเราจะค่อยๆแนบแน่ขึ้นเรื่อยๆ แล้วลมหายใจของเราก็จะค่อยๆละเอียดและเบาบางลง (มันเป็นของมันเองโดยธรรมชาติ ไม่มีการบังคับลมหายใจ)

ขั้นที่ 2 : กำหนดรู้ลมหายใจละเอียด หายใจเข้า  ,   กำหนดรู้ลมหายใจละเอียด หายใจออก

=> ลมหายใจละเอียด ลักษณะของการหายใจจะสั้นลง ลมหายใจก็จะมีความเบาบาง เราสามารถรู้ชัดได้ด้วยตนเอง เมื่อทำไปสักพัก ลมหายใจเริ่มละเอียดขึ้นมาเรื่อยๆ

ขั้นที่ 3 : กำหนดรู้ กายทั้งปวง หายใจเข้า  ,  กำหนดรู้ กายทั้งปวง หายใจออก

=> โดยกำหนดให้สักแต่ว่าลมหายใจนั้นเป็นส่วนหนึ่งของธาตุในกาย ไม่ได้มีอะไร เป็นเพียงแค่ธาตุลมที่ไหลเข้าไหลออกเท่านั้น รวมถึงกำหนดรู้กายทั้งกายด้วย (กำหนดรู้ให้มันเป็นอย่างที่มันเป็น)

ขั้นที่ 4 : ทำจิตให้ระงับกายสังขาร หายใจเข้า  , ทำจิตให้ระงับกายสังขาร หายใจออก

=> (ในขั้น 4 นี้ ลมหายใจจะละเอียดมากๆจนเหมือนเราหายใจนิดๆเดียว ให้เรากำหนดรู้อารมณ์สภาวะทุกลมหายใจเข้า-ออก เพื่อสงบระงับด้วยจิตที่สงบนิ่งรวมถึงร่างกายด้วย โดยการปล่อยวางมันซะ)

ในขณะนี้ด้วยลมหายใจที่ สั้น , เบา และละเอียดมากๆ ซึ่งถ้าเราไม่กำหนดสติตามรู้ท่วงทัน  เราจะคิดไปเองว่าเรานั้นไม่ได้หายใจ หรือคิดไปว่าลมหายใจหายไป และนั่นก็จะทำให้เกิดความสงสัย ความกลัว และสมาธิก็จะไม่แนบแน่น จนทำให้สมาธิของเราไม่ก้าวหน้าสู่ขั้นที่ 5 ได้

หลังจากที่ลมหายใจละเอียดมากๆและกายสังขารสงบระงับ มันก็จะเป็นเหตุให้เกิด ปีติ ซึ่งตรงนี้ปีติมีหลากหลาย แต่เราให้กำหนดรู้ปีติที่นิยมใช้ในการฝึกกัน คือ อารมณ์ปีติที่ให้ความแผ่ซ่าน ซาบซ่าน มีความเย็นแผ่ออกไปทั่วทั้งร่างกาย

ร่างกายจะได้รับความสุขในแบบที่ไม่เคยเจอในชีวิตประจำวัน ซึ่งความสุขทางใจที่สงบก็เริ่มปรากฎเมื่อปีตินี้เกิดขึ้น

ปีตินี้ผมพอจะมีเทคนิคในการสร้างอยู่บ้าง แต่ก็ไม่รู้ท่านอื่นจะทำได้เหมือนกันหรือไม่  คือเมื่อปีติเล็กน้อยที่เป็นความซาบซ่านเริ่มเกิดขึ้นที่ร่ายกาย ให้เรากำหนดรู้ทั้งร่างกายของเราในขณะอารมณ์ปีติทีกำลังแผ่ซ่าน แล้วความซาบซ่านมันจะแผ่ไปทั่วร่างกายเองโดยอัตโนมัติ

ถ้าใครมาถึงขั้นนี้ผมเชื่อว่าต้องกำหนดรู้กายทั้งกายของตนเองได้อย่างแน่นอน แล้วอารมณ์ปิติจะเกิดเด่นชัดต่อเนื่อง ซึ่งทำให้คุณสัมผัสกับอารมณ์ปีติที่ดี มีความสุข และสงบ อย่างที่ไม่เคยรู้มากว่า เราสามารถอยู่กับปีตินี้ยาวๆได้โดย

กำหนดรู้อารมณ์ปีติหายใจเข้า และ กำหนดรู้อารมณ์ปีติหายใจออก พร้อมกับรู้ทั้งร่างกาย (คือการกำหนดคงไว้ซึ่งปีติ เพื่อให้เข้าใจอารมณ์ปีติให้ชัดเจน แต่ในที่สุดของการข้ามสู่ขั้นถัดไปเราก็ต้องให้ปีติสงบระงับอยู่ดีนะครับ)

ขั้นที่ 5 : กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า  , กำหนดรู้ปีติ หายใจออก 

=> | ขั้นที่ 5 นี้ การกำหนดรู้เป็นไปเพื่อการระงับอารมณ์ปีติ นะครับ ถ้าปีติดับไป ความซาบซ่านทั้งหลายมันจะหายไปครับ คงเหลือไว้แต่ความสุขทางใจที่อิ่มเอิบเท่านั้น|

ผมก็ขอกล่าวแค่ถึงขั้นที่5นะครับ ขั้นอื่นๆที่เหลือท่านใดสนใจก็สามารถไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก google ครับผม

----------------

ก็ด้วยการฝึกตามที่กล่าวมาข้างต้นของอาณาปานสติ 16 ขั้น  เราจะเห็นได้ว่าเป้าหมายหลักไม่ได้มุ่งเน้นที่การสร้าง ฌาน หรือลำดับขั้นของ ฌาน แต่จะมุ่งเน้นที่สติที่รู้ชัดแล้วค่อยๆวางอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นภายในสมาธินั่นเอง

โดยทั้งอาณาปานสติ 16 ขั้นนี้จะไม่มีการทิ้งฐานของลมหายใจครับ ไม่ว่าจะรู้อารมณ์อะไรก็ต้องห้ามลืมฐานของสติ นั่นคือลมหายใจ นั่นเอง

ดังนั้นการฝึกแนวๆนี้จึงทำให้เราสามารถเข้าใจและรู้ชัดอารมณ์ต่างๆในสมาธิได้อย่างชัดเจน หากท่านใดเคยปฏิบัติแล้วเกิดอารมณ์ปีติ แต่ไม่ค่อยชัดเจน ก็จะมารู้ชัดเจนด้วยการฝึกสมาธิแบบ อาณาปานสติ 16 ขั้น ครับผม

------------------



ด้านล่างนี้จะเป็นอารมณ์ของ ปีติ ที่ถูกแบ่งไว้ 5 แบบ นะครับ ก๊อปเค้ามาอีกทีนึงท่านก็ลองดูนะครับว่าเคยสัมผัสปีติแบบไหนมาบ้างแล้ว

ปีติ 5 (ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำ — joy; interest; zest; rapture)

       1. ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย พอขนชูชันน้ำตาไหล — minor rapture; lesser thrill)

       2. ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆ เป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ — momentary or instantaneous joy)

       3. โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นระลอกหรือปีติเป็นพักๆ ให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกาย ดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง — showering joy; flood of joy)

       4. อุพเพตาปีติ หรือ อุพเพงคาปีติ (ปีติโลดลอย เป็นอย่างแรงให้รู้สึกใจฟูแสดงอาการหรือทำการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือให้รู้สึกตัวเบา ลอยขึ้นไปในอากาศ — uplifting joy)

       5. ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่านแผ่เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ ปีติที่ประกอบกับสมาธิ ท่านมุ่งเอาข้อนี้ — suffusing joy; pervading rapture)

----------------

การฝึกที่กล่าวข้างต้น อันที่ผมแนะนำอารมณ์ของปีติที่ใช้ในการฝึกถ้านำมาเทียบกันแล้ว น่าจะอยู่ในหมวดหมู่ที่ 5 ของอันนี้นะครับ (ผรณาปีติ)

ทั้งหมดนี้ก็ได้จากประสบการณ์ของการฝึกฝนสมาธินะครับ ก็หวังว่ามันอาจจะเป็นแนวทางหรือประโยชน์กับท่านที่มีความมุ่งมั่นและกำลังศึกษาในด้านของการฝึกสมาธิครับผม


  เมื่อวันที่ : 2020-03-10 21:45:01


สนใจติดต่อโทร : 087-613-1076
Line ID : 0876131076